อยากเป็นหมอ

ผมอยากเป็นหมอ

สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น พลพรรคนิสิตแพทย์จุฬาฯจึงพร้อมใจกันจัด "ค่ายอยากเป็นหมอ"ให้นักเรียนมัธยมปลายได้เจอ "ของจริง" ร่วมประสบการณ์หวีดผ่าชันสูตรพลิกศพ แอยู่เวรร่วมกับรุ่นพี่ กานต์ดา บุญเถื่อน สังเกตการณ์

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : "ใครอยากเป็นหมอยกมือขึ้น" อนุพันธ์ ตันธณาธิป เสียงนิสิตแพทย์หนุ่ม ปี 4 บิ๊กบราเธอร์จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถามบรรดาหนุ่มสาววัยทีนที่มาเข้า "ค่ายอยากเป็นหมอ" ที่นิสิตแพทย์รุ่นพี่ร่วมกันจัดกิจกรรมเปิดบ้าน

อานันท์ พุทธรักษา หรือเบิร์ด นักเรียนชั้น ม. 6 จากโรงเรียนชลราษฎรอำรุง จ. ชลบุรี บอกแรงบันดาลใจว่า สมัยเด็กเค้าเคยป่วยเป็นโรคผิวหนังหัวใจรั่วมาตั้งแต่เกิด และเข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จนหายเป็นปกติ ใช้ชีวิตได้เหมือนคนทั่วไป เลยกลายเป็นความรักฝังใจอยากเป็นหมอ จุฬาฯมาโดยตลอด "ที่นี่หมอเก่งๆอยู่รวมกันเยอะ" เบิร์ดหน่มเมืองชลร่างท้วมเล่าประสบการณ์ "รักแรกผ่า"ค่ายอยากเป็นหมอปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 17 แล้ว มีนิสิตแพทย์รุ่นพี่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาเล่าประสบการณ์และสาธิตชีวิตแพทย์ให้นักเรียนมัธยมปลายที่ตั้งใจสอบเอนทรานซ์เข้าเรียนคณะแพทย์ศาสตร์

เบิร์ดและเพื่อนต่างสถาบันจำนวน 120 คนส่งตัวเองเข้าร่วมค่ายอยากเป็นหมอที่จัดขึ้นช่วงปิดเทอมภาคหนึ่ง และร่วมใช้ชีวิตกับนิสิตแพทย์เป็นเวลา 4 วัน แบ่งออกเป็น 12 บ้าน บ้านละ 10 คน มีตั้งแต่ชื่อธรรมดาอย่างบ้านเด็กวัด เด็กเมื่อวานซืน เด็กเลี้ยงแกะไปจนถึงเด็กแอ๊บทุกคนต่างยกย่องให้เบิร์ดเป็นนักกิจกรรมเบอร์ 1 ประจำค่าย เนื่องจากทุกครั้งที่นิสิตแพทย์มีการเอ่ยขออาสาสมัคร ร่างอันตุ้ยนุ้ยของเบิร์ดมีอันต้องออกไปยืนเป็นนักแสดงจำเป็น และบางครั้งก็จำใจ เรียกเสียงฮาพร้อมกับน้ำหูน้ำตาเล็ดออกมาอย่างไม่รู้ตัว

"สิ่งที่ได้จากค่ายอยากเป็นหมอนี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหาได้จากหนังสือตำราเรียน นิตยสาร หรือว่าสารคดีที่หาอ่านได้ทั่วไป แม้แต่สถานกวดวิชาที่ไหนๆก็ไม่มี เพราะการมาเข้าค่ายทำให้เราได้มาเรียนรู้และสัมผัสจากพี่นิสิตแพทย์ตัวเป็นๆแบบสงสัยอะไรก็ถามได้เลย" อานันท์ บอกเล่าความรู้สึกจากการเข้าค่าย

วัดใจคนอยากเป็นหมอ

กิจกรรมระทึกขวัญที่ยากจะลืมเป็นบทแรกพิสูจน์ใจคนอยากเป็นหมอ เริ่มจากร่วมสังเกตการณ์การสาธิตผ่าสมองของอาจารย์ใหญ่อย่างใกล้ชิด ตามมาด้วยการชันสูตรพลิกศพที่พึ่งจะสิ้นลมไปไม่ถึง 48 ชั่วโมง มาผ่าตัดสมองทำการชันสูตรให้ดู ท่ามกลางบรรยากาศที่เย็นเยือกไปทั้งตัว และอบอวลไปด้วยกลิ่นน้ำยาฟอร์มาลิน "สิ่งที่เห็นข้างหน้าไม่มีอะไรเทียบได้เลย เริ่มตั้งแต่ก้าวเข้าห้องเย็น จ้องมองการทำงานของหมอและนิสิตชนิดห่างกันไม่เกิน 3 เมตร เห็นทุกขั้นตอนตั้งแต่หยิบจับเครื่องมือค่อยๆกรีดเนื้อบริเวณศรีษะเพื่อชันสูตรหาสาเหตุการตาย" เด็กอะคาเดมี แฟนเทเชียค่ายหมอเล่าประสบการณ์ระทึกขวัญ

เบิร์ดบอกว่า เขาอยากเป็นหมอด้านนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อทำหน้าที่หาความเป็นธรรมให้แก่เพื่อนมนุษย์

"ถามว่ากลัวผีไหม ผมไม่กลัวนะเพราะเชื่อว่าถ้าเราทำดีมีเจตนาช่วยเขา ผีก็จะไม่มาหลอกเราให้กลัวอย่างแน่นอน" พูดพลางหันซ้ายหันขวาอย่างระแวง เขาใช้เวลาเตรียมพร้อมสำหรับการสอบเป็นแพทย์ราว 5 ถึง 6 เดือน โดยเลือกอ่านวิชาเฉพาะที่จะต้องสอบ และไม่ได้เข้าติวเสริมพิเศษที่ไหนเหตุเป็นคนที่ชอบทำกิจกรรมที่โรงเรียนมากจนไม่มีเวลาเหลือที่จะไปทำกิจกรรมอย่างอื่น แต่เขาเชื่อว่าหากตั้งใจเรียนในห้องแพยายามแก้ปัญหาที่เราไม่เข้าใจให้กระจ่างได้แล้ว ก็น่าจะเพียงพอสำหรับการลงแข่งในสนามสอบของการเป็นนิสิตแพทย์ได้ไม่ยาก

"อาชีพหมอเป็นอาชีพที่ต้องเสียสละ มีจรรยาบรรณ ไม่เอาเปรียบคนไข้ ไม่ว่าคนไข้จะรวยหรือว่าจนก็ต้องรักษาด้วยความเท่าเทียมกัน ไม่เปิดคลีนิกทำการรักษาที่มีรูปแบบไปในทางหลอกล่อหรือเอาเงินคนอื่น" ไพโรจน์ ลงกา นักเรียน ม. 6 จากโรงเรียนปราจิณราษฎรบำรุง จ. ปราจีนบุรี ฉายภาพหมอในความคิด ไพโรจน์ บอกว่า การเข้าร่วมค่ายอยากเป็นหมอนอกจากสนองความต้องการส่วนตัวแล้ว ยังอยากรู้จักชีวิตหมอใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นเพื่อให้รู้ว่า ถ้าได้เข้าเรียนคณะแพทย์อย่างที่ตั้งใจ ต้องเผชิญกันอะไรบ้าง และต้องใช้ชีวิตอย่างไร

แรงบันดาลใจอยากเรียนหมอของไพโรจน์มาจากป้าของเขาซึ่งป่วยมีเนื้องอกในสมองและลุกลามไปกดทับเส้นประสาทตาทำให้มองไม่เห็น จนต้องเข้ารักษาด้วยการผ่าตัด เขายังมีป้าอีกคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ทั้งสองคนอยากให้เรียนหมอเพื่อมาช่วยดูและท่านยามแก่เฒ่าหรือยามที่เจ็บปป่วย

"แต่สุดท้ายแล้วทางเดินที่ผมเลือกอาจจะเรียนเป็นหมอสูติ หรือหมอทันตกรรมก็ได้เพราะส่วนตัวแล้วผมไม่ชอบผ่าตัด เนื่องจากเป็นคนที่ค่อนข้างกลัวเลือดกลัวการผ่าตัดอยู่บ้าง" ไพโรจน์กล่าว ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งที่เขาไม่อยากเป็นศัลยแพทย์เพราะกลัวเกิดการผิดพลาดอาจทำให้ผู้ป่วยเจ็บตัวมากกว่าเดิม

เขาบอกว่าการเข้าค่ายอยากเป็นหมอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยช่วยให้เขามีประสบการณ์ตรงที่ไม่สามารถหาได้ที่ไหน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมกิจกรรมแนะนำการเรียน การได้มาสัมผัสกับอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ใช้เรียนโดยตรง จนมั่นใจมากขึ้นว่าจะเลือกสอบเข้าเรียนต่อที่คณะแพทย์จุฬาฯให้ได้ แม้ว่าสถาบันจะมีที่รองรับเพียง 120 ที่เท่านั้นก็ตามไพโรจน์พูด

ค้นหาตัวเองให้เจอ

สำหรับน้องยา หรือ ธนัฎฐา ฮะอุรา นักเรียนชั้นม.6 จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.สตูล เปิดใจว่า สาเหตุที่อยากเป็นหมอแม้จะกลัวเลือดกลัวเข็ม เพราะน้องชายประสบอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์ล้มจนเกือบต้องตัดขาทิ้ง เธอยังได้ฝึกงานที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งช่วงที่เรียนอยู่ชั้น ม.4 และมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการดูและผู้ป่วยเบื้องต้น การจ่ายยา การรักษา เคยคลุกคลีชีวิตการทำงานของหมอในโรงพยาบาลดังกล่าว ส่วนที่เข้าร่วมค่ายอยากเป็นหมอเพราะอยากรู้ว่า การเป็นหมอได้ต้องเจอกับอะไรบ้าง

ยา บอกว่า เธอประทับใจกับการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายอยากเป็นหมอมากและขยายความให้ฟังเพิ่มว่า กิจกรรมที่พี่นิสิตนำมาให้เรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นการฝึกเจาะเลือดจากแขนเทียมเลือดเทียม การฝึกสวมถุงมือ การฝึกเย็บแผลด้วยเข็มของหมอจริงๆ กับหมอนจำลอง การดูอาจารย์ใหญ่ การขึ้นเวรกับพี่นิสิตชั้นปี 5 ทั้งเวลาเช้าและเย็นเพื่อดูการทำงานของของนิสิตแพทย์ และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายช่วยให้รู้จักชีวิตนักเรียนแพทย์มากขึ้น

"ตอนนี้หนูอยู่ม. 6 แล้ว เป็นช่วงที่สำคัญมากของชีวิตเพราะต้องตัดสินใจว่าจะเรียนต่ออะไร เพื่ออนาคตตัวเอง" ธอบอกว่าช่วงก่อนจะสอบเอนทรานซ์ของทุกปีจะมีค่ายที่เปิดโอกาสให้เลือกสมัครเข้ามาค้นหาตัวเองมากมายเป็นโอกาสที่ควรไขว่คว้าไม่ว่าค่ายอะไรก็ตาม เพราะไม่เพียงประสบการณ์เท่านั้นที่จะได้รับ แต่จะช่วยค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบ และถนัด โดยไม่ต้องเสียเวลาและทุนเรียนในสิ่งที่ไม่ชอบภายหลัง

กิจกรรมที่พี่นิสิตนำมาให้เรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นการฝึกเจาะเลือดจากแขนเทียมเลือดเทียม การฝึกสวมถุงมือ การฝึกเย็บแผลด้วยเข็มของหมอจริงๆกับหมอนจำลอง การดูอาจารย์ใหญ่ การขึ้นเวรกับพี่นิสิตชั้นปี 5 ทั้งเวลาเช้าและเย็น และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายทำให้เรารู้มากขึ้นกว่าเดิมว่าที่จริงแล้วหมอต้องเรียนอะไรบ้าง" น้องยากล่าว

ขณะที่เพื่อนๆในค่ายต่างวาดฝันความเป็นนิสิตแพทย์อยู่นั้น ลลนาวัลย์ มนตรีธรสาร นักเรียนชั้นม. 5 จากโรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เขตบางรัก กลับคิดไปว่า เธอจะเรียนหมอสาขาไหนดีระหว่างเภสัชวิทยา ทันตแพทย์ เพราะเริ่มรู้แล้วว่าการเรียนเป็นหมอ ชีวิตจะไม่ใช่ของเราอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นของคนอื่นไปเลย นอนก็ไม่เป็นเวลาพักผ่อนก็ไม่เป็นเวลาด้วย

"หมอเป็นอาชีพที่ค่อนข้างเสียสละชีวิตของตัวเองเพื่อคนอื่น ต้องมีความรับผิดชอบ อดทน มีความสามารถรับผิดชอบ เป็นอะไรที่เหนื่อยแหนักมาก ส่วนตัวแล้วหนูคิดว่าตัวเองเรียนหมอได้ แต่ยังไม่รู้ว่าชอบหรือไม่ จึงลองมาเข้าค่ายอยากเป็นหมอของคณะแพทย์จุฬาฯดู เพราะส่วนตัวแล้วชอบเรียนเลข และชีวะ แต่ยังไม่แน่ใจตัวเองว่าอยากเป็นหมอด้านไหนดี" ลลนาวัลย์ กล่าว

ลลนาวัลย์ กล่าวอีกว่า การจะสอบเอนทรานซ์ให้ติดนั้นไม่ว่าคณะอะไร ที่สถาบันไหนก็ตาม เราควรมีความเตรียมพร้อมด้วยการอ่านหนังสือหรือทำแบบฝึกหัดให้เข้าใจก่อนที่จะถึงเวลาลงสนามสอบโดยสะสมมาเรื่อยๆและหากเริ่มได้ตั้งแต่ชั้นม. 4 ได้ยิ่งดี เพราะนั่นหมายความว่าเรามีชัยไปกว่าครึ่งนั่นเอง

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น