สุขภาพตามศาสตร์แพทย์จีน

เคล็ดลับการดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์แผนจีน 1

การดูแลสุขภาพอาจดูเป็นเรื่องน่าเบื่อและยุ่งยาก แต่ที่จริงช่วงเวลาเล็ก ๆ น้อย ๆ แค่ 5-15 นาทีก็ช่วยให้ร่างกายดีขึ้นได้แบบง่าย ๆ เป็นของขวัญวันใหม่ที่ดีที่สุดสำหรับตัวคุณเอง โดยแบ่งเวลาก่อนหรือหลังกิจกรรมที่คุณทำอยู่แล้วประจำวันแล้วเพิ่มรายละเอียดที่เราแนะนำเข้าไปอีกนิด เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นค่ะ

o ดื่มน้ำ 1 นาทีตอนตื่นนอน เมื่อตื่นนอนแล้วควรดื่มน้ำ 1-2 แก้วเพื่อกระตุ้นการทำงานของอวัยวะและระบบขับถ่าย ทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าขึ้น หากหลัวลืม ให้วางขวดและแก้วน้ำไว้ที่หัวเตียงก่อนนอน เพื่อที่จะดื่มได้ทันทีที่ตื่นนอน

o หัวเราะ 15 นาทีก่อนอาหารเย็น ผลัดกันเล่าเรื่องตลกกับคนในครอบครัวคนละ 1 เรื่องทุกวัน และหัวเราะเต็มเสียงให้ลมผ่านปาก ลำคอ ปอด กระเพาะ ลำไส้ใหญ่-เล็ก จนรู้สึกว่าอวัยวะทุกส่วนเคลื่อนไหว หรือจนรู้สึกเกร็งหน้าท้อง เพื่อให้ร่างกายได้ออกซิเจนมากขึ้น ฟอกปอด ป้องกันการเวียนหัวและอ่อนเพลีย แถมยังเพิ่มความผูกพันในครอบครัวให้แน่นแฟ้นขึ้นด้วย

o เดินเพิ่มขึ้น 15 นาทีก่อนเริ่มงาน เปลี่ยนจากใช้ลิฟต์เป็นเดินขึ้น – ลงบังไดแทน หรือขยับไปจอดรถไกลขึ้นอีกหน่อยเพื่อให้เดินไกลขึ้น โดยเดินให้เร็วขึ้นกว่าปกติ และเพิ่มระยะทางการเดินขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวันหากมีเวลาอาจไปเดินเล่นในสวนสาธารณะ นอกจากได้ออกกำลังกายแล้วยังได้รับอากาศบริสุทธิ์ด้วย วิธีนี้เหมาะสำหรับคนทำงานที่ต้องนั่งโต๊ะทั้งวัน จะช่วยให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวและออกแรงบ้าง

o กะพริบตาทุก 15 นาทีเมื่ออยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ กระพริบตาเพิ่มขึ้น 1 – 2 ครั้งทุก 15 นาที และเมื่อเลิกใช้คอมพิวเตอร์ให้กระพริบตาถี่ ๆ เพื่อให้แก้วตาสะอาดและมีน้ำหล่อเลี้ยงมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่ใส่แว่นตาหรือคอนแท็คท์เลนส์ยิ่งจำเป็น เพราะจะช่วยให้ตาไม่แห้งเกินไป

o ล้างมือ 1 นาทีก่อนเข้าห้องน้ำ มีงานวิจัยพบว่า คนเข้าห้องน้ำโดยไม่ล้างมือมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่าคนที่ล้างมือก่อนเข้าห้องน้ำ แม้ยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน แต่การล้างมือก่อนเข้าห้องน้ำก็ช่วยให้มือคุณสะอาดจากเชื้อโรคหากต้องสัมผัสกับจุดซ่อนเร้น และไม่ก่อโรคให้ตัวเองแบบไม่ตั้งใจ ที่สำคัญ ออกจากห้องน้ำแล้วอย่าลืมล้างมืออีกครั้ง

o หยุดกิน 5 นาทีก่อนอิ่มจริง ทุกครั้งเวลากินอาหารมื้อหลัก ให้หยุดกินก่อนอิ่มจริง 5 นาที และควรกินอาหารแค่ “เกือบอิ่ม” เท่านั้นกระเพาะอาหารจะได้ไม่ทำงานหนักเกินไป

o ทำความสะอาดฟัน 10 นาทีหลังอาหาร สุขภาพฟันสำคัญมากกว่าที่คิด ดังนั้นควรทำความสะอาดฟันทุกครั้งหลังกินอาหาร โดยเตรียมอุปกรณ์ติดไว้ที่ทำงานเสมอ เช่น แปรงสีฟัน ไหมขัดฟัน หากไม่สะดวก แค่บ้วนปากก็ยังดี

o ดื่มน้ำ 1 นาทีหลังอาหาร 1 ชั่วโมง หากทำงานให้ห้องแอร์ ควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 5-8 แก้ว เพราะอากาศแห้ง ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่าย ทำให้ผิวแห้ง ไม่สดใส เป็นตะคริว และรู้สึกอ่อนเพลีย โดยดื่มชั่วโมงละ 1 แก้ว แต่ไม่ควรดื่มน้ำมาก ๆ ก่อนและหลังมื้ออาหารทันที เพราะน้ำจะไปลดประสิทธิภาพของระบบย่อยอาหาร ควรดื่มน้ำหลังมื้ออาหารไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำย่อยทำงานได้อย่างเต็มที่ และถ้าระหว่างกินอาหารรู้สึกอยากดื่มน้ำ ให้เปลี่ยนเป็นจิบน้ำแทน

o เดินเล่น 5 นาทีระหว่างรดน้ำต้นไม้ ช่วงเวลาเช้าเย็นที่แดดไม่จัดเกินไป อย่าลืมออกไปรดน้ำต้นไม้เพื่อรับวิตามินดากแสงแดดและออกกำลังกายโดยเดินเท้าเปล่าให้เท้าสัมผัสกับสนามหญ้า เม็ดทราย กรวดเล็กๆและละอองน้ำด้วย จะยิ่งรู้สึกสดชื่นขึ้น ทั้งยังช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสและการทรงตัวของฝ่าเท้าอีกด้วย

o นอนสมาธิ 10 นาทีก่อนนอน เมื่อกำลังจะเข้านอนทุกคืน ให้สวดมนต์และนอนหลับตาทำสมาธิไปเรื่อย ๆ สัก 10 นาที หรือจนกว่าจะหลับ โดยนอนหงาย วางมือบนท้อง กำหนดความรู้สึกไว้ที่การกระเพื่อมขึ้นลงของหน้าท้อง จิตใจจะสงบ ช่วยให้หลับสบายและหลับได้ลึกขึ้น

o วางแผน Weekly Planning ทุกคืนวันอาทิตย์ ในแต่ละสัปดาห์จัดลำดับความสำคัญของงานว่าอะไรที่ต้องทำก่อนหลัง นอกจากจะช่วยให้ชีวิตเป็นระบบมากขึ้น ยังทำให้การทำงานง่ายขึ้น ผลพลอยได้คือคุณมีเวลาเหลือพอที่จะทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีกด้วย

o นัดหมายงานทุกวันจันทร์ 09.00 น. หากต้องนัดเจรจาธุรกิจควรนัดวันนี้ เวลา 09.00 น. – 10.00 น. เพราะหลังอาหารเช้า 1-2 ชั่วโมง สมองของคุณกำลังได้รับอาหารอย่างเต็มที่ แถมยังได้คิดงานมาคร่าว ๆ แล้วในช่วงสุดสัปดาห์ จึงมีทั้งกำลังสมองและแผนการดีกว่าวันอื่น ๆ ที่สำคัญการนัดหมายในวันเริ่มต้นสัปดาห์จะช่วยให้คุณมีเวลาทำงานนานขึ้นด้วย

o Dinner มื้อเย็นวันพุธและพฤหัสบดี เมื่อต้องออกไปคุยงานต่อตอนเย็นหรือมีนัดdinner ควรเลือกวันพุธหรือพฤหัสบดี เพราะช่วงวันกลางสัปดาห์ร้านอาหารมักว่าง คุยงานสะดวกขึ้น แล้วถ้าคุณอยากไปเที่ยวต่อ คนก็ไม่เยอะเกินไปด้วย

o จดรายการสินค้า 5 นาทีก่อนไปจ่ายตลาด จดรายการสินค้าที่ต้องการเพื่อไม่ให้หลงลืมรายการใด ๆ และกำหนดว่าต้องมีผัก ผลไม้ ตามฤดูกาลที่มีในท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายมีภูมต้านทานกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป

o ออกกำลังกาย 17.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายตื่นตัวเต็มที่ คุณจึงรู้สึกสนุกและมีแรงเป็นพิเศษ การออกกำลังแค่วันละ 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมงเท่านั้น จะทำให้ร่างกายไม่ตื่นตัวเกินไปและหลับสบายด้วย

o อย่านอนตื่นสายในวันเสาร์ อาทิตย์ หากคุณรู้สึกไม่อยากลุกจากเตียงในวันเสาร์แล้วนอนยาวไปเรื่อย ๆ จะทำให้ไม่อยากลุกจากที่นอนในวันอาทิตย์ และส่งผลยาวมาถึงวันจันทร์ด้วย ดังนั้นอย่ามัวแต่นอนบิดขี้เกียจอยู่เลย ลุกขึ้นมาทำเช้า วันเสาร์ อาทิตย์ให้สดใสกันดีกว่าค่ะ

เห็นไหมคะว่าเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ถูกมองข้ามไป ก็อาจกลายเป็นปราการสุขภาพที่ยิ่งใหญ่ของคุณได้เหมือนกัน...จริงมั้ยคะ?

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

"385">

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

เรียนแพทย์มีกี่สาขา

สาขาของแพทย์เฉพาะทาง
อายุรแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์
สูตินรีแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวชวิทยา
ศัลยแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยกรรมกระดูกและข้อ)
จักษุแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา
จิตแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์
แพทย์โสตศอนาสิก - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโสตศอนาสิกวิทยา
พยาธิแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยา
รังสีแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีวิทยา
วิสัญญีแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิสัญญีวิทยา
กุมารแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์
แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชปฏิบัติครอบครัว
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู
แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
[แก้] ดูเพิ่ม
ทันตแพทย์
วิสัญญีแพทย์
เภสัชกร
สัตวแพทย์
จิตแพทย์
พยาบาล
แพทยศาสตร์
แพทย์การประหารชีวิต

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

แพทย์แผนจีนมีในไทยด้วยเหรอ..?

ประวัติแพทย์แผนจีนในประเทศไทย

แพทย์แผนจีนเผยแพร่เข้ามาประเทศไทยครั้งแรกตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่มีบันทึกไว้แน่นอน แต่อาจพออนุมานว่า ตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเมื่อมีการติดต่อค้าขายกับจีนจนพบหลักฐานเป็นเครื่องสังคโลก นั้นคงจะมีการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องยาจีนมาไม่มากก็น้อย เพราะในยุคสมัยเดียวกับสุโขทัยนั้นประเทศจีนอยู่ในสมัยราชวงศ์หมิงซึ่งการแพทย์แผนจีนได้พัฒนามาเป็นเวลาหนึ่งพันกว่าปีแล้ว

จวบจนสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายจึงได้มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ใน “คัมภีร์โอสถพระนารายณ์” ซึ่งกล่าวถึงชื่อของแพทย์ผู้ประกอบยาทูลเกล้าฯถวายนั้นไว้ ๙ คน ในจำนวนนี้เป็นหมอต่างชาติ ๔ คน คือ เป็นหมอจีน ๑ คน หมอแขก ๑ คน และหมอฝรั่ง ๒ คน หมอจีนได้มีการบันทึกว่าชื่อขุนประสิทธิโอสถ(จีน) อีกทั้งในคัมภีร์ยังได้มีการบันทึกตัวอย่างที่มาจากต่างชาติหลายชนิด เช่น ยิงสม (โสม) โกษฐ์ต่างๆ เทียนต่างๆ โหราต่างๆ ยาดำ ชะมดเชียง มดยอบ (โม่เย่า) สีเสียดเทศ แสดงให้เห็นว่ายาจีนได้เข้าสู่สยามมาระยะหนึ่งจนได้รับการยอมรับในราชสำนักของกรุงศรีอยุธยาแล้ว

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการติดต่อและนำวัฒนธรรมของประเทศตะวันตกเข้ามา การแพทย์แผนตะวันตกหรือการแพทย์แผนปัจจุบันจึงได้เข้ามามีบทบาทในการรักษาสุขภาพในสังคมไทยมากขึ้นตามลำดับ แม้ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ จะได้มีการก่อตั้งสมาคมแพทย์จีนขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย แต่การพัฒนาอย่างรวดเร็วของแพทย์ตะวันตก กอปรกับในประเทศจีนก็มีกระแสการแอนตี้แพทย์แผนจีน ดังในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ และ ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้มีการเสนอให้มีการยกเลิกแพทย์แผนจีนจึงเกิดการประท้วงใหญ่ทั่วประเทศจีนขึ้นในวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ซึ่งทำให้วันที่ ๑๗ มีนาคมของทุกปีกลายเป็น “วันแพทย์จีน” ในเวลาต่อมา อีกทั้งเมื่อประเทศจีนเกิดการเปลี่ยนการปกครอง ความขัดแย้งทางการเมืองได้ทำให้การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหยุดชะงัก แพทย์แผนจีนในประเทศไทยจึงไม่ได้เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง การใช้จำกัดอยู่ในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีนเท่านั้น

ภายใต้สภาวะทางสังคมเช่นนี้ กลุ่มหมอจีนในประเทศไทยจึงส่งเสริมให้บุตรหลานไปเรียนทางด้านการแพทย์และเภสัชกรรมแผนปัจจุบันเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ร้านขายยาจีนยังคงมีการรักษาไว้โดยเปิดคู่กับร้านขายยาแผนปัจจุบัน โดยเฉพาะร้านขายยาจีนที่อยู่ในย่านคนจีนที่เยาวราชและเจริญกรุงรวมทั้งตลาดในหัวเมืองใหญ่ๆ ที่มีคนจีนอยู่มาก ทำให้ความรู้ด้านยาจีนและการแพทย์แผนจีนสามารถสืบทอดมาได้จนถึงปัจจุบัน

ต่อมา เมื่อประเทศจีนได้มีการเปิดประเทศและมีการเปิดสัมพันธไมตรีทางการทูตกับประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ นิทรรศการ “จีนแดง” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปีนั้นได้มีการแนะนำศาสตร์อย่างหนึ่งที่ดูลึกลับแต่มีประสิทธิผลในการรักษาให้ปรากฏแก่สายตาของสาธารณชนในประเทศ นั่นคือ “ศาสตร์การแทงเข็ม” จึงทำให้เกิดการตื่นตัวในการแสวงหาความรู้และการรักษาด้วยการแทงเข็มและแพทย์จีนขึ้นมาอีกครั้ง แต่ในช่วงระหว่างปี ๒๕๑๘- ๒๕๓๘ กว่า ๒ ทศวรรษนี้ยังเป็นช่วงตกต่ำของการแพทย์แผนจีนในประเทศไทยเพราะความนิยมยังอยู่ในวงจำกัด จนเมื่อเริ่มเข้าสู่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ในทางสากลและในประเทศไทยได้เกิดความสนใจในวิถีการดูแลสุขภาพโดยวิธีธรรมชาติมากขึ้นตามลำดับ ทำให้การแพทย์แผนโบราณต่างๆ ทั้งแผนไทยและแผนจีน โภชนาบำบัด การทำสมาธิ การรำชี่กง ไท้เก๊ก โยคะ ฯลฯ ได้รับการฟื้นฟูมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและถ่ายทอดกันอย่างกว้างขวางขึ้นเรื่อยๆ ในส่วนของแพทย์แผนจีนทางกระทรวงสาธารณสุขศูนย์ความร่วมมือการแพทย์ไทย-จีนที่มี น.พ.ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญได้ผลักดันให้มีการยอมรับศาสตร์การแพทย์แผนจีนให้สามารถทำการรักษาประชาชนไทยได้ โดยได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ที่อาศัยอำนาจตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ อนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยศาสตร์การแพทย์แผนจีน

ภายใต้ประกาศฉบับนี้แพทย์จีนที่อยู่ในประเทศไทยได้เข้ารายงานตัวและทำการทดสอบไปเป็นจำนวน ๔ รุ่น โดยมีการส่งผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันแพทย์จีนแห่งชาติของจีนมาเป็นผู้ทำการอบรมและดำเนินการสอบ รุ่นที่ ๑ เป็นแพทย์จีนที่เรียนจบหลักสูตร ๕ ปีจากสถาบันในประเทศจีนที่กระทรวงรับรองได้รับการอนุญาตในปี ๒๕๔๓ รุ่นที่ ๒-๔ เป็นแพทย์จีนที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษหรือผู้มีประสบการณ์ได้รับการอนุญาตในปี ๒๕๔๔- ๒๕๔๖ ตามลำดับ มีผู้ผ่านการทดสอบและได้รับใบอนุญาตทั้ง ๔ รุ่น จำนวนทั้งสิ้น ๒๑๕ คน

ในส่วนของแพทย์แผนปัจจุบันได้มีการจัดอบรมหลักสูตรฝังเข็มระยะสั้น ๓ เดือนให้กับแพทย์ ถึงปัจจุบันมีแพทย์ที่ผ่านการอบรมไปแล้ว ๑๔ รุ่น จำนวน ๖๐๐ กว่าคน ในส่วนของการเรียนการสอน ได้มีสถาบันที่เปิดการสอนแพทย์แผนจีนขึ้นในประเทศไทย ๒ แห่ง ได้แก่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ทำให้ในอีก ๑-๒ ปีข้างหน้าจะมีบัณฑิตแพทย์แผนจีนเข้าสู่งานด้านสาธารณสุขของประเทศปีละ ๕๐-๑๐๐ คนต่อไป

การแพทย์แผนจีนในประเทศไทยได้ผ่านประวัติอันยาวนาน ปัจจุบันกำลังก้าวเข้าไปสู่การรักษาที่มีมาตรฐานยิ่งขึ้น ในการเรียนการสอนมีการพัฒนาไปสู่การเรียนในระดับอุดมศึกษา อีกทั้งมีแพทย์แผนปัจจุบันสนใจเข้ามาศึกษาอบรมศาสตร์การแพทย์แผนจีน ทั้งการแทงเข็มและการใช้ยาจีนมากขึ้นตามลำดับ ในส่วนราชการเองก็ให้การสนับสนุนโดยจัดให้มีกฎหมายรองรับเพื่อพัฒนาการรักษาให้เข้าสู่ระบบและมีมาตรฐานยิ่งขึ้น แพทย์แผนจีนจึงเป็นการแพทย์อีกหนึ่งสาขาที่จะช่วยเสริมการบริการสาธารณสุขของประเทศไทย ตามปรัชญาของจีนที่ว่า “ฉี่ว์ฉางปู่ต่วน” หรือ “นำส่วนที่ดีมาส่งเสริมให้แก่กัน” ต่อไป

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ประวัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ไทย

วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ในประเทศนั้น มีประวัติความเป็นมา ดังนี้

พ.ศ. 2487 เนื่องจาก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ขาดแคลนบุคลากรที่จะทำการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ จึงนำพยาบาลมาฝึกหัดในการตรวจวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการใช้บุคลากรไม่ตรงตามสาขาวิชาที่เรียนมา ทางคณะฯ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อร่างหลักสูตรในการผลิตบุคลากรทางห้องปฏิบัติการ แต่โครงการต้องระงับไป เนื่องจากอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้ขอความช่วยเหลือจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID ในปัจจุบัน)และได้ส่ง นพ.วีกูล วีรานุวัตติ์ และ นพ.เชวง เดชะไกศยะ ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับเทคนิคการแพทย์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 1 ปี

พ.ศ. 2499 ได้เริ่มการก่อสร้างโรงเรียนเทคนิคการแพทย์ ขึ้นที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และมีพระราชกฤษฎีจัดตั้ง โรงเรียนเทคนิคการแพทย์สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขโดยนักศึกษาเทคนิคการแพทย์รุ่นแรกของประเทศไทย สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาเทคนิคการแพทย์ (อทกพ.)

พ.ศ. 2500 มีพระราชกฤษฎีจัดตั้ง "คณะเทคนิคการแพทย์ " ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งมีศาสตราจารย์นายแพทย์วีกูล วีรานุวัตติ์ เป็นคณบดีท่านแรก ซึ่งนับเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์เทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย นับแต่นั้นเป็นต้นมา

พ.ศ. 2503 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้ปรับขยายหลักสูตรจากอนุปริญญา เป็นระดับปริญญาตรี ได้วุฒิวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) ซึ่งเป็นการปรับหลักสูตรก่อนประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 2 ปี

พ.ศ. 2549 กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา โดยชื่อเทคนิคการแพทย์สำหรับหลักสูตรที่เปิดดำเนินการอยู่แล้วให้ใช้ชื่อเดิมคือ วิทยาศาสตรบัณฑิต(เทคนิคการแพทย์)" และชื่อย่อ วท.บ.(เทคนิคการแพทย์)สำหรับหลักสูตรที่จะขอเปิดใหม่ ตามประกาศดังกล่าวให้ใช้ชื่อปริญญาระดับปริญญาตรีว่า เทคนิคการแพทยบัณฑิตและใช้ชื่อย่อ ทพ.บ.

สาขาวิชา

การเรียนการสอนในสาขาเทคนิคการแพทย์นั้น ครอบคลุมสาขาวิชา

ต่าง ๆ ดังนี้

สาขาเคมีคลินิก (Clinical chemistry)

สาขาจุลชีววิทยาคลินิก (Clinical microbiology)

สาขาจุลทรรศนศาสตร์คลินิก (Clinical Microscopy)

สาขาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด (Transfusion medicine)

สาขาปรสิตวิทยา

สาขาภูมิคุ้มกันวิทยา

สาขาโลหิตวิทยา

การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ

ในอดีตผู้ที่จะประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ได้นั้น จะต้องจบหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) และต้องขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ ซึ่งออกโดยกองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข แต่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์จะต้องขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ จาก สภาเทคนิคการแพทย์

ในบางมลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น ใน มลรัฐฮาวาย, มลรัฐแคลิฟอร์เนีย, มลรัฐฟลอริดา, มลรัฐเนวาดา และมลรัฐลุยเซียนา เป็นต้น นักเทคนิคการแพทย์จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมาย และจะต้องมีการศึกษาต่อเนื่องเพื่อต่ออายุใบอนุญาตเป็นประจำ

คำนำหน้าชื่อและอักษรย่อ

ในประเทศไทย นักเทคนิคการแพทย์สามารถใช้คำนำหน้าชื่อ เพื่อแสดงถึงการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ได้ โดยให้ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ชาย ใช้คำนำหน้าชื่อ "ทนพ." และผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์หญิง ใช้คำนำหน้าชื่อ "ทนพญ."

สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา นักเทคนิคการแพทย์จะใช้อักษรย่อว่า "MT" ซึ่งมาจาก "Medical technologist(เรียกสั้น ๆ ว่าMed tech)" ซึ่งคล้าย ๆ กับแพทย์ที่ใช้อักษรย่อคำว่า "MD" ย่อมาจาก Medical Doctor และ พยาบาลจะใช้คำย่อว่า "RN" ซึ่งย่อมาจาก Registered Nurse และถ้าหากนักเทคนิคการแพทย์ที่ผ่านการรับรองจาก "ชมรมพยาธิวิทยาคลินิกแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ American Society for Clinical Pathology" ก็อาจจะใช้คำย่อว่า "MT(ASCP)" และเช่นเดียวกัน ถ้าหากผ่านรับการรับรองจาก "สมาคมธนาคารเลือดแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ American Association of Blood Banks ก็สามารถใช้ชื่อย่อว่า "SBB" ได้เช่นกัน โดยสามารถเขียนอักษรย่อเป็น "MT(ASCP)SBB"

หน้าที่ของนักเทคนิคการแพทย์

นักเทคนิคการแพทย์นั้นมีหน้าที่ในการเก็บตัวอย่างได้แก่ การเจาะเลือดผู้ป่วย ผู้มารับบริการ ทางเส้นเลือดดำ เส้นเลือดปลายนิ้วเป็นต้น หากสิ่งส่งตรวจจากผู้เข้ามารับบริการ เช่น เลือด ปัสสาวะ อุจจาระ ได้ถูกส่งต่อมา นักเทคนิคการแพทย์จะมีหน้าที่ในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพก่อนการวิเคราะห์ โดยจะทำการตรวจสอบชื่อและสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยว่าเป็นคนเดียวกัน และคุณภาพของสิ่งส่งตรวจว่าเหมาะสมสำหรับนำมาทดสอบทางห้องปฏิบัติการหรือไม่ เนื่องจากสิ่งส่งตรวจที่ไม่เหมาะสมจะมีผลต่อการผลทดสอบด้วย

หลังจากนั้น จะนำสิ่งส่งตรวจไปทำการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เพื่อวินิจฉัย พยากรณ์ ติดตาม หรือประเมินสุขภาวะของผู้เข้ามารับบริการ ซึ่งจะรายงานผลให้แก่แพทย์หรือผู้ป่วยได้ทราบต่อไป

นอกจากนั้น นักเทคนิคการแพทย์ยังต้องควบคุมคุณภาพต่าง ๆ ภายในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ อาทิเช่น การควบคุมคุณภาพของการรับสิ่งส่งตรวจ ขั้นตอนระหว่างการทดสอบ และตรวจสอบความถูกต้องของผลทดสอบ โดยปกตินั้น นักเทคนิคการแพทย์จะทำการลงชื่อเพื่อรับรองผลการทดสอบทุกครั้งก่อนรายงานผลทางห้องปฏิบัติการ

การประกอบอาชีพ

นักเทคนิคการแพทย์สามารถทำงานในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ทั้งในภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ ยังสามารถทำงานอย่างอื่นได้ เช่น เป็นผุ้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์เครื่องมือและน้ำยาทางการแพทย์ หรือศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาได้ในหลายสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ได้

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

คุณสมบัติการเป็นหมอ

สำหรับคนที่อยากเป็นหมอ หรือ ไม่อยากเป็นแต่ก็อ่านได้ค่ะ
ฮิปโปคราตีส (Hippocrates) เป็นชาวกรีก เกิดประมาณ 460 ปีก่อนคริสตกาล มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับนักปราชญ์กรีกคนสำคัญ เช่น โสคราตีส (Socrates) เพลโต (Plato) อริสโตเติล (Aristotle) ฮิปโปครตีสเป็นอาจารย์แพทย์ผู้มีชื่อเสียง ได้เริ่มแนวคิดทางการแพทย์และวิชาการสมัยใหม่ บทนิพนธ์ของฮิปโปครตีส (The Hippocratic collection) เป็นที่มาของจริยศาสตร์การแพทย์ (Medical Ethics) ที่สืบทอดมาเป็นเวลานาน ฮิปโปคราตีสได้กล่าวถึงจิตสำนึกของแพทย์และความรับผิดชอบต่อวิชาชีพไว้ดังนี้

"ผู้ที่เป็นแพทย์ต้องประกอบด้วยคุณลักษณะของความไม่มีอคติแบ่งแยก ความเป็นผู้มีศีลธรรม ความสุภาพอ่อนโยน แต่งกายเหมาะสม มีวิธีการคิดด้วยเหตุผลอย่างเป็นระบบ มีการตัดสินใจที่ดี บุคลิกภาพสงบ น่าเชื่อถือ มีความประพฤติดีงาม มีสติปัญญาสามารถแยกแยะความดีและความชั่ว สิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิต ธรรมชาติที่จะช่วยเหลือผู้อื่นโดยความสามารถ ไม่หลงงมงายในความเชื่อที่ผิด เป็นผู้มีความดีงามโดยที่มนุษย์ทั่วไปพึงมี คุณลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผู้เป็นแพทย์พึงตระหนักในจิตสำนึกและพัฒนาตนเอง ส่วนคุณลักษณะที่แพทย์ไม่พึงมีพึงเป็น ได้แก่ ความเป็นผู้ขาดความอดทน หยาบคาย ละโมบ มักมากในกาม ไม่ซื่อสัตยื และขาด
หิริโอตัปปะ คือ ความละอายเกรงกลัวต่อสิ่งที่ผิด"

ฮิปโปครตีสได้กล่าวถึงหลักความประพฤติที่สำคัญสำหรับแพทย์ในการยึดถือปฏิบัติไว้ในคำปฏิญาณของแพทย์ที่จบการศึกษาในสมัยกรีกซึ่งรู้จักกันในชื่อ คำปฏิญาณของฮิปโปคราตีส (The Hippocratic Oath) มีสาระสำคัญ ดังนี้

1)การให้ความเคารพแก่ครูอาจารยืและแสดงออกถึงความกตัญญู โดยการดูแลทุกข์สุขของตัวอาจารย์และครอบครัว

2)การดำรงรักษาไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ของวิชาชีพและแนวทางการดำเนินชีวิต

3)การไม่มีทิฐิในการรักษาผู้ป่วย กรณีใดที่ตนขาดความรู้ ความชำนาญ ก็ไม่ลังเลที่จะเชิญผู้รู้และชำนาญกว่ามาดูแลรักษาแทน แพทย์ไม่พึงให้ร้ายและทะเลาะวิวาทกันเองอันเป็นการเสื่อมเสียเกียรติ

4)ไม่ทำแท้งให้แก่สตรีใดๆ

5)ไม่กระทำในสิ่งที่เป็นผลร้ายต่อผู้ป่วย แม้ว่าจะได้รับการขอร้อง รวมถึงไม่แนะนำในสิ่งที่ผิด

6)การรักษาความลับของผู้ป่วยไม่แพร่งพรายเรื่องราวของผู้ป่วยให้แก่ผู้อื่น

7)การสำรวมระมัดระวังที่จะไม่ประพฤติผิดทางเพศ

ในปัจจุบันบางสิ่งอาจเปลี่ยนไปบ้างแต่ยังคงรักษาพื้นฐานความคิดเดิมไว้ ถ้าจำแนกคุณสมบัติเบื้องต้นให้ชัดเจนและเหมาะสมกับปัจจุบันจะได้ ดังนี้

1.สุขภาพกายต้องแข็งแรง

การเป็นแพทย์ทุกคนต้องมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ หลังเอ็นทรานซ์ติดแล้ว 3 ปีแรกจะเป็นช่วงที่ไม่ค่อยทำงานอดหลับอดนอน เมื่อเข้าสู่ปี 4 จะมีการอยู่เวรยาม แต่ยังไม่โหด อาจถึงแค่เที่ยงคืน เมื่อเข้าสู่ปี 6 เวรจะโหดมากต้องอยู่วันเว้นวันหรือ วันเว้นสองวัน นักศึกษาปี 6 นี้ต้องดูแลผู้ป่วยตลอดคืน คนไข้เป็นอะไรต้องตามนิสิตแพทย์ก่อน ในขณะที่กลางวันต้องทำงาน บางคนเป็นลมข้างเตียงผู้ป่วยก็มี ดังนั้น การมีร่างกายแข็งแรงมีความจำเป็น เพราะถ้าไม่เช่นนั้นอาจทำให้การทำงานขาดสะบั้นลงได้

2.ความเมตตากรุณาต่อผู้ที่ได้รับความทุกข์ทรมาน

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย และพระบิดาแห่งการสังคมสงเคราะห์ ได้สั่งสอนนักเรียนแพทย์ให้ยึดมั่นในอุดมคติ ดังนี้

"ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นกิจที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง"
พรหมวิหารธรรมเป็นธรรมอันประเสริฐ เป็นธรรมเครื่องอยู่ของพรหม สำหรับผู้เป็นแพทย์ ทำให้แพทย์ผู้ปฏิบัติพรหมวิหารธรรมเสมอด้วยพรหม มี 4 ประการ คือ

1)เมตตา ความรักใคร่ ปราถนาดีอยากให้ผู้ป่วยมีความสุขมีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่ผู้ป่วยเสมอ

2)กรุณา ความสงสารใฝ่ใจอันปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของผู้ป่วยที่กำลังได้รับอยู่ (Altruism)

3)มุทิตามี ความยินดีเมื่อผู้ป่วยอยู่ดีมีสุข

4)อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง มีจิตเรียบตรงดุจตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง

3.มีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
แพทย์ต้องไม่รังเกียจที่จะพูดคุยกับคนอื่น เมื่อผู้ป่วยซักถามอะไรที่อาจไม่มีสาระ แพทย์ก็ควรตอบให้ผู้ป่วยเข้าใจโดยไม่รำคาญ อาจารย์แพทย์มักกล่าวว่า "ถ้าหมอหรือญาติของหมอเองเจ็บป่วยด้วยโรคที่หมอเองก็ยังไม่รู้ ต้องพึ่งคุณหมอคนอ่น คุณอยากถามอะไรกับคุณหมอท่านนั้นบ้างล่ะ"

ในโรงเรียนแพทย์เรื่องนี้ถือเป็นจุดด้อยเพราะไม่มีการเรียนรู้อย่างจริงจัง แต่จะเรียนรู้ทางอ้อมจากการซึมซับจากอาจารย์แพทย์ การปฏิบัติงาน ไม่ใช่ว่าแพทย์จะดุผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยไม่ได้ แต่แพทย์สามารถเตือนได้เมื่อผู้ป่วยทำสิ่งที่ไม่สมควร (ไม่ดุก็เหมือนดุ) ไม่ใช่เพราะผู้ป่วยไม่ฟังแพทย์ แต่เพราะแพทย์เป็นห่วงผู้ป่วย สิ่งที่ผู้ป่วยทำอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต

4.มีสติปัญญาที่ดี

ร่างกายของคนเรามหัศจรรย์มาก คือ เห็นเป็นรูปร่างอย่างนี้ ข้างในมีอะไรให้เราศึกษาได้อย่างไม่ณุ้จบสิ้น แพทย์ต้องเรียนรู้รายละเอียดทั้งหมดในร่างกาย ผูที่เป็นนักศึกษาแพทย์ต้องมีความจำดีไม่ใช่ได้หน้าลืมหลัง เพราะมีความรู้ใหม่ๆแทรกมาตลอดเวลา ซึ่งความรู้พวกนี้ต้องใช้ความรู้พื้นฐานชั้นต้นๆมาเรียนรู้ตลอด 6ปี แพทย์ต้องมีความเข้าใจ มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี ไม่ใช่เอาแต่ท่องจำอย่างเดียว ต้องเป็นผู้ขยันหาความรู้ เพราะวิทยาศสาตรืจะมีความรู้ใหม่ๆเข้ามาเสมอ นอกจากนี้ แพทยืต้องมีวิจารณญาณสูง เพราะแพทย์ต้องวิเคราะห์องค์ความรู้ที่มีอยู่มากมายมาเป็นของตนเอง เลือกได้ว่า
สิ่งใดดีสิ่งใดไม่ดี

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS